ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เฉลิม อยู่บำรุง

ร้อยตำรวจเอก ดร.เฉลิม อยู่บำรุง นักการเมืองไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝั่งธนบุรีหลายสมัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อดีตรองนายกรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคมวลชน

ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 บิดาชื่อ ร.ต.ต.แฉล้ม อยู่บำรุง มารดาชื่อนางลั้ง อยู่บำรุง จบการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเข้ารับราชการตำรวจที่มีตำแหน่งเป็นสารวัตรกองปราบ นั้นได้เคยเป็นทหารยศสิบโทมาก่อน ได้ขอโอนย้ายตัวเองเข้าสังกัดตำรวจ ทำงานการเมืองเคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแล องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และขณะที่กำกับดูแลหน่วยงานแห่งนี้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม มีชื่อเรียกสั้น ๆ จากสื่อมวลชนว่า "เหลิม" หรือ "เหลิมดาวเทียม" เนื่องจากเป็นที่รับรู้กันดีในแวดวงสื่อมวลชนถึงการควบคุมการนำเสนอข่าวด้วยตนเองของ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ซึ่งในบางครั้งถึงกับเข้าไปสั่งการในห้องตัดต่อเอง จนคนในช่อง 9 เรียกว่า "บรรณาธิการเฉลิม"

สมรสกับลำเนา อยู่บำรุง ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชน มีบุตรด้วยกันทั้งสิ้น 3 คน เป็นชายล้วนคือ นายอาจหาญ, นายวันเฉลิม และนายดวงเฉลิม อยู่บำรุง (ภายหลังนายวันเฉลิม และนายดวงเฉลิม เปลี่ยนชื่อเป็น นายวัน และนายดวง ตามลำดับ) ลูกชายทั้งสามก็ถูกเรียกกันทั่วไปว่า "ลูกเหลิม" มีน้องชายที่เล่นการเมืองท้องถิ่น เป็น ส.ก.หลายสมัยคือ นวรัตน์ อยู่บำรุง ส.ก.เขตหนองแขม และน้องชายที่เป็นตำรวจ พ.ต.ท.จารึก อยู่บำรุง ซึ่งเสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557

ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เป็นที่รู้จักในฐานะนักการเมือง หลายครั้งมีการใช้คำพูดที่ฟังดูรุนแรง ซึ่ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เคยกล่าวถึงตัวเองไว้ว่า "ไปทะเลเจอฉลาม มาสภาเจอเฉลิม"

ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ปรากฏบทบาททางการเมืองครั้งแรกในฐานะผู้ร่วมการพยายามก่อรัฐประหารรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2524 และหลังการทำรัฐประหารไม่สำเร็จ จึงตกเป็นผู้ต้องหามีคำสั่งย้ายเข้ากรมตำรวจในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2524 และพลตำรวจเอกมนต์ชัย พันธุ์คงชื่นอธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ได้ลงนามในคำสั่งที่ 500/2524 ไล่ออกจากราชการตำรวจในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2524และตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ต่อมาจึงได้รับการนิรโทษกรรม[ต้องการอ้างอิง]

ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เริ่มต้นชีวิตทางการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในปี 2526 ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้ก่อตั้ง พรรคมวลชน และดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค โดยมีฐานเสียงสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี โดยเฉพาะเขตภาษีเจริญและเขตบางบอน

ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุนหะวัณ มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแล องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.)

ภายหลังการรัฐประหารดังกล่าว ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง เป็นหนึ่งในนักการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ และถูกยึดทรัพย์จำนวน 32 ล้านบาท และต้องขอลี้ภัยการเมืองไปต่างประเทศ โดยเดินทางไปพำนักอยู่ที่ประเทศสวีเดนและประเทศเดนมาร์ก

ต่อมาเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ได้กลับเข้าประเทศไทย และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ต่อมา ในปี พ.ศ. 2540 ตัดสินใจยุบพรรคมวลชนรวมเข้ากับ พรรคความหวังใหม่ ของ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง กลับมาเป็นข่าวคราวอีกครั้ง เมื่อลูกชายทั้ง 3 คน คือ ร้อยตำรวจตรีอาจหาญ อยู่บำรุง ร้อยตำรวจตรีวัน อยู่บำรุง และร้อยตำรวจเอกดวง อยู่บำรุง ตกเป็นข่าวผ่านสื่อมวลชนเป็นระยะ ว่ามีพฤติกรรมก้าวร้าว ก่อเหตุวิวาททำร้ายร่างกายหลายครั้ง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีที่ นายดวงเฉลิม ลูกคนเล็กตกเป็นผู้ต้องหาสังหาร ดาบตำรวจ สุวิชัย รอดวิมุติ หรือที่รู้จักกันในชื่อ "ดาบยิ้ม" ในผับกลางโรมแรม ย่านถนนรัชดาภิเษก เมื่อปลายปี พ.ศ. 2544[ต้องการอ้างอิง] โดยหลบหนีไปหลังเกิดเหตุ และมอบตัวหลังจากนั้นกว่าครึ่งปีเขาถูกถอดยศทหารในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ภายหลังจากนั้นนายสมัคร สุนทรเวช ได้คืนยศทางทหารให้

ต่อมาคดีนายดวงเฉลิม มีคำตัดสินของศาลอาญาชั้นต้นให้ยกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า นายดวงเฉลิมเป็นผู้สังหารดาบยิ้ม ศาลอาญาชั้นต้นจึงมีคำพิพากษายกฟ้อง และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าผู้สังหารดาบยิ้มเป็นใคร

ในปลายปีพ.ศ. 2554 สื่อมวลชนรายงานว่านายวัน อยู่บำรุงได้แสดงเจตนาข่มขู่อาฆาตมาดร้ายนายวัชระ เพชรทองระหว่างที่กำลังลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนจากเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554

ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547 ร้อยตำรวจเอก เฉลิมได้ลงรับสมัครด้วย โดยได้คะแนนมากเป็นลำดับที่ 4 โดยได้คะแนนเสียงในเขตบางบอนเป็นลำดับที่ 1

ร้อยตำรวจเอก เฉลิมตัดสินใจเข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน หลังการรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 และในช่วงปลายปี พ.ศ. 2550 จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิมลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบสัดส่วน ลำดับที่ 2 กลุ่มจังหวัดที่ 6 (กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี และ สมุทรปราการ) และได้รับเลือก

ภายหลังจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลง พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกเป็นเสียงข้างมากในสภาถึง 233 ที่นั่ง ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ สมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยในการจัดคณะรัฐมนตรีนายสมัครได้ให้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ ร้อยตำรวจเอก เฉลิมกล่าวว่าเป็นตำแหน่งที่ตนต้องการที่จะดำรงตำแหน่งมากที่สุดด้วย[ต้องการอ้างอิง]

แต่ต่อมาในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 นายสมัครได้ตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรี โดยในการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิมได้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยนายสมัครได้ให้ พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ดำรงตำแหน่งแทน ร้อยตำรวจเอก เฉลิม

ต่อมานายสมัครได้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่อีกครั้ง โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยในการจัดคณะรัฐมนตรีนายสมชายได้เลือกให้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

แต่ต่อมาในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชน,พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรค จึงส่งผลให้นายสมชายพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย

ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุงได้ตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีกำกับ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และได้ตำแหน่งรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีอันดับที่ 1 ในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 หรือรองนายกรัฐมนตรีลำดับที่ 1 ภายหลังนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ลาออกจากตำแหน่งดังกล่างเนื่องจากมีการชี้มูลความผิดเรื่องที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพล์โดยคณะกรรมการปราบปรามทุจริตแห่งชาติ

จากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เขาเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนพึงพอใจ เป็นลำดับที่ 2 รองจากนายกรัฐมนตรี

ภายหลังจากมีการยุบพรรค ร้อยตำรวจเอก เฉลิมได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย ทั้งนี้คณะผู้บริหารพรรคพิจารณาแต่งตั้ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิมเป็นประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อควบคุมการทำงานในสภาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภายในพรรคต่อไป โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิม กล่าวว่าพรรคได้มอบหมายให้ทำหน้าที่ประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำหน้าที่หัวหน้าพรรคในสภาผู้แทนราษฎร

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 6

ร้อยตำรวจเอก เฉลิมเป็นผู้นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิมเป็นผู้ขึ้นเปิดอภิปรายเป็นคนแรก โดยอภิปรายไม่ไว้วางใจอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในกรณีการปกปิด ซ่อนเร้น ไม่เปิดเผยการรับเงินสนับสนุนพรรคการเมือง ในการรายงานงบดุลต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเส้นทางของเงินดังกล่าวเป็นเงินที่รับจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) แล้วทำนิติกรรมอำพรางผ่านบริษัท เมซไซอะ ซึ่งถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง

เฉลิม อยู่บำรุง ทำหน้าที่รักษาการเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552 สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กระทั่งพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปลายปี พ.ศ. 2552 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้ให้ฉายา ร้อยตำรวจเอก เฉลิมว่า "ดาวดับ" อันเนื่องจากวาทะที่แก้ตัวให้กับการกระทำที่ส่อทุจริตของ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ว่า "พันตำรวจโท ทักษิณ ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย แต่ทำในสิ่งที่กฎหมายห้าม" ซึ่งได้กลายเป็นวาทะประจำปีด้วย

ต่อมาต้นปี พ.ศ. 2553 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ได้มีวิวาทะกับสมาชิกพรรคเพื่อไทยด้วยกันเอง ถึงขนาดตำหนิออกมาต่อหน้าสื่อมวลชนหลายต่อหลายครั้ง อันเนื่องจากเรื่องการที่จะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ที่เห็นแตกต่างกันและมีความเห็นเกี่ยวกับทิศทางการบริหารจัดการพรรคที่แตกต่างกัน

ซึ่งในปีถัดมา ความขัดแย้งในเรื่องดังกล่าวนี้ก็ได้เกิดขึ้นอีก จนกระทั่งในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ได้ขอลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคอย่างเป็นทางการ โดยมีกระแสข่าวถึงความไม่พอใจในสมาชิกพรรคบางคนตำหนิบทบาทการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของตัวเอง

อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งครั้งถัดมา ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 3 พรรคเพื่อไทย รวมถึงได้ส่งบุตรชายลงสมัครรับเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และบุตรชายได้รับตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ถูกปรับให้ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยมีการถวายสัตย์ปฏิญาณตนในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 และถ่ายภาพหมู่คณะรัฐมนตรีที่ได้รับโปรดเกล้าฯ บริเวณหน้าตึกไทยคู่ฟ้า แต่ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ไม่ได้เข้าร่วมถ่ายภาพในครั้งนั้นด้วย รวมทั้งไม่เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 โดยอ้างเหตุผลว่าขอลากิจเพื่อไปตรวจสุขภาพ แต่เป็นที่รับทราบโดยทั่วไปว่าเป็นการประท้วงที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ตำแหน่งนี้กับเขาและปลดจากรองนายกรัฐมนตรี

เขาดำรงตำแหน่งผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557 นับเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนแรกของประเทศไทย ที่ดำรงตำแหน่ง ผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในสถานการณ์ฉุกเฉิน

วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยขาดความชอบธรรม

หลังจากนั้นก็มีกระแสข่าวลือสะพัดว่า ร.ต.อ.เฉลิมได้เสียชีวิตลงแล้วด้วยอาการสมองบวม แต่ที่จริง การผ่าตัดรักษาอาการป่วยของ ร.ต.อ.เฉลิม สำเร็จด้วยดี จนกระทั่ง ร.ต.อ.เฉลิม สามารถออกจากโรงพยาบาลได้ในเวลา 14.00 น. ของวันที่ 10 ตุลาคม และจากการตรวจสอบข้อมูล ยังพบอีกว่า ร.ต.อ.เฉลิมพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ไม่ใช่ โรงพยาบาลพระมงกุฏฯ

ร.ต.อ.เฉลิม พร้อมกับลูกชายคนเล็ก ร.ต.อ.ดวง ได้ออกมาจากโรงพยาบาลพร้อมกัน ด้วยสีหน้าท่าทางยิ้มแยมแจ่มใส ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน "ผมมีเลือดไหลในสมอง 2 ข้าง แต่เลือดไม่ไหลเข้าไปในสมองส่วนที่สำคัญ หมอจึงใช้เครื่องมือเจาะเอาเลือดออก ใช้เวลาแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น" ต่อมาเขาเกิดอาการซ็อกในขณะประชุมร่วมกับคณะทำงานฯ ในวันที่ 21 ตุลาคมของปีเดียว จนต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลรามาธิบดี

ต่อมาวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลาประมาณ 13.45 นาฬิกา ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เกิดอาการทรุดลงหลังกลับมาทำงานที่กระทรวงแรงงานได้ 1 สัปดาห์ จากการผ่าตัดอาการเลือดออกใต้เหยื่อหุ้มสมอง ในระหว่างหารือ กับ พลตำรวจเอกพงสพัศ พงเจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถึงการจัดประชุมแนวทางป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ที่ห้องทำงานชั้น 6 โดยมีอาการตัวเกร็ง พร้อมนั่งนิ่งไป จนเกือบฟุบลงจากเก้าอี้ ส่งผลให้ทีมงานต้องตัดสินใจ นำตัวร.ต.อ.เฉลิม ส่งโรงพยาบาลรามาธิบดี ทั้งที่ยังนั่งอยู่บนเก้าอี้

ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม • เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ • หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) • ทวี บุณยเกตุ • อดุล อดุลเดชจรัส • หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) • พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) • แสง สุทธิพงศ์ • ประจวบ บุนนาค • เล็ก สุมิตร • พระยาบริรักษ์เวชชการ (ไล่ฮวด ติตติรานนท์) • ประยูร ภมรมนตรี • ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี • เฉลิม พรมมาส • พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) • ประเสริฐ รุจิรวงศ์ • อุดม โปษะกฤษณะ • คล้าย ละอองมณี • ประชุม รัตนเพียร • สวัสดิ์ คำประกอบ • ทวี จุลละทรัพย์ • ยงยุทธ สัจจวาณิชย์ • บุญสม มาร์ติน • เสม พริ้งพวงแก้ว • ทองหยด จิตตวีระ • มารุต บุนนาค • เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ • ชาติชาย ชุณหะวัณ • ชวน หลีกภัย • ประจวบ ไชยสาส์น • ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ • ไพโรจน์ นิงสานนท์ • บุญพันธ์ แขวัฒนะ • อาทิตย์ อุไรรัตน์ • เสนาะ เทียนทอง • มนตรี พงษ์พานิช • สมศักดิ์ เทพสุทิน • รักเกียรติ สุขธนะ • กร ทัพพะรังสี • สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ • สุชัย เจริญรัตนกุล • พินิจ จารุสมบัติ • มงคล ณ สงขลา • ไชยา สะสมทรัพย์ • ชวรัตน์ ชาญวีรกูล • เฉลิม อยู่บำรุง • วิทยา แก้วภราดัย • จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ • วิทยา บุรณศิริ • ประดิษฐ สินธวณรงค์ • รัชตะ รัชตะนาวิน • ปิยะสกล สกลสัตยาทร

มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ • พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) • แสวง เสนาณรงค์ • มนูญ บริสุทธิ์ • สุรินทร์ มาศดิตถ์ • บุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ • ปรีดา พัฒนถาบุตร • นิพนธ์ ศศิธร • ชวน หลีกภัย • นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ • ดุสิต ศิริวรรณ • บุญเรือน บัวจรูญ • สมพร บุญยคุปต์ • ถวิล รายนานนท์ • บุญยง วัฒนพงศ์ • สวัสดิ์ คำประกอบ • เฉลิมชัย จารุวัสตร์ • สิทธิ เศวตศิลา • เกษม จาติกวณิช • ปรีดา กรรณสูต • ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา • ประมวล กุลมาตย์ • พร ธนะภูมิ • ดำริ น้อยมณี • สมศักดิ์ ชูโต • มีชัย ฤชุพันธุ์ • ชาญ อังศุโชติ • พล เริงประเสริฐวิทย์ • สุตสาย หัสดิน • ศุลี มหาสันทนะ • ชาญ มนูธรรม • กระมล ทองธรรมชาติ • ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ • บัญญัติ บรรทัดฐาน • จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา • อำนวย สุวรรณคีรี • วิชิต แสงทอง • อรุณ ภาณุพงศ์ • บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ • กร ทัพพะรังสี • อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ • เฉลิม อยู่บำรุง • ประสงค์ บูรณ์พงศ์ • สรอรรถ กลิ่นประทุม • สอาด ปิยวรรณ • กร ทัพพะรังสี • หาญ ลีนานนท์ • จำรัส มังคลารัตน์ • หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี • ไพจิตร เอื้อทวีกุล • มีชัย วีระไวทยะ • สายสุรี จุติกุล • ใหม่ ศิรินวกุล • ชัชวาลย์ ชมภูแดง • สุชน ชามพูนท • วัฒนา อัศวเหม • ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ • ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ • ทินพันธุ์ นาคะตะ • เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ • สาวิตต์ โพธิวิหค • สุรศักดิ์ เทียมประเสริฐ • ชินวุธ สุนทรสีมะ • พิมพา จันทร์ประสงค์ • ปัญจะ เกสรทอง • ปองพล อดิเรกสาร • เรืองวิทย์ ลิกค์ • จรัส พั้วช่วย • รักเกียรติ สุขธนะ • โภคิน พลกุล • บุญพันธ์ แขวัฒนะ • ฉัตรชัย เอียสกุล • ชิงชัย มงคลธรรม • วีระกร คำประกอบ • สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ • เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ • สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ • ภูษณ ปรีย์มาโนช • พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ • สุพัตรา มาศดิตถ์ • สาวิตต์ โพธิวิหค • จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ • อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ • สมบุญ ระหงษ์ • ไชยยศ สะสมทรัพย์ • พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ • ปวีณา หงสกุล • ภิญโญ นิโรจน์ • อดิศัย โพธารามิก • จาตุรนต์ ฉายแสง • ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา • สมศักดิ์ เทพสุทิน • กระแส ชนะวงศ์ • พงศ์เทพ เทพกาญจนา • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • สุรนันทน์ เวชชาชีวะ • เนวิน ชิดชอบ • ทิพาวดี เมฆสวรรค์ • ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ • ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล • ชูศักดิ์ ศิรินิล • จักรภพ เพ็ญแข • สุขุมพงศ์ โง่นคำ • สุพล ฟองงาม • สาทิตย์ วงศ์หนองเตย • วีระชัย วีระเมธีกุล • องอาจ คล้ามไพบูลย์ • สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ • กฤษณา สีหลักษณ์ • วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล • นลินี ทวีสิน • นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล • วราเทพ รัตนากร • ศันสนีย์ นาคพงศ์ • สันติ พร้อมพัฒน์ • หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล • สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ? สิทธิ เศวตศิลา ? หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ? มนตรี พงษ์พานิช ? บุญพันธ์ แขวัฒนะ ? สุวิทย์ คุณกิตติ ? พยุง นพสุวรรณ ? เจษฎา ตันติบัญชาชัย ? อรรถพล ชัยนันท์สมิตย์ ? ทองพูล ดีไพร

โกศล ไกรฤกษ์ ? พงส์ สารสิน ? สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ? มนตรี พงษ์พานิช ? ประยุทธ์ ศิริพานิชย์? เขษม ไกรสรรณ์ ? บุญพันธ์ แขวัฒนะ ? เฉลิม อยู่บำรุง ? สุวิทย์ คุณกิตติ ? สมศักดิ์ เทพสุทิน ? ระวี หิรัญโชติ ? เจษฎา ตันติบัญชาชัย ? อุทัย นิ่มสุวรรณ ? ปราโมทย์ ตามควร ? อำนวย ศิริทองสุข ? สยมภู เกียรติสยมภู

สมศักดิ์ ภาคีโพธิ์ ? เฉลิม อยู่บำรุง ? สมศักดิ์ ภาคีโพธิ์ ? เฉลิม อยู่บำรุง ? วรวิทย์ พิบูลศิลป์ ? เฉลิม อยู่บำรุง ? การุณ รักษาสุข

อดุล กาญจนพันธุ ? ราชันย์ ฮูเซ็น ? โสภณ เพชรสว่าง ? อดิศร เพียงเกษ (ทำหน้าที่แทน) ? ทวีศักดิ์ วานนท์ ? อารยะ ชุมดวง ? ชิงชัย ต่อประดิษฐ์ ? เจี่ย ก๊กผล ? อารยะ ชุมดวง ? การุณ รักษาสุข ? ยงยุทธ รอดคล้ายขลิบ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301